logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตรัง
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

เกี่ยวกับจังหวัด

 

 ตราประจำจังหวัดตรัง

ภาพสะพานกระโจมไฟ  และภาพลูกคลื่น

ภาพสะพานกระโจมไฟ  หมายถึง  จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่า

ทำการค้าขายกับต่างประเทศ

ภาพลูกคลื่น  หมายถึง  ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง  เป็นเนินเล็ก ๆ สูงๆ ต่ำๆ  คล้ายลูกคลื่น

ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง

ดอกศรีตรัง
ชื่อสามัญ    Green ebony, Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์    Jacaranda obtusifolia Humb.
วงศ์    BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น    แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทั่วไป    ต้นสูง 4 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง รูปทรงไม่แน่นอน ใบประกอบขนนกสองชั้น ใบย่อยจำนวนมาก รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกจำนวนมากรูประฆัง สีม่วง ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม มีนาคม ผลเป็นฝักแบนเมื่อแก่จะแตก เมล็ดแบน มีปีก
การขยายพันธุ์    การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม    ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ชอบอากาศเย็นและชื้น
ถิ่นกำเนิด    ทางเหนือของอเมริกาใต้ และเวเนซุเอลา

คำขวัญประจำจังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา        ชาวประชาใจกว้าง

               หมูย่างรสเลิศ              ถิ่นกำเนิดยางพารา

               เด่นสง่าดอกศรีตรัง       ปะการังใต้ทะเล

               เสน่ห์หาดทรายงาม      น้ำตกสวยตระการตา

ประวัติจังหวัดตรัง

ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองรบทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก ทั้งที่จริงตรังเป็นชุมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา เพื่อความเข้าใจประวัติความเป็นมาของตรัง ขอแบ่งยุคหรือสมัยของตรังเทียบเคียงกับยุคของประวัติศาสตร์ภาคใต้และประวัติศาสตร์ไทย ดังนี้
     
๑. ชุมชนตรังยุคก่อนประวัติศาสตร์
     
๒. ชุมชนตรังยุคอาณาจักรโบราณในภาคใต้
     
๓. ชุมชนตรังยุคสุโขทัย
     
๔. เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา
     
๕. เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
     
๖. เมืองตรังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     
๗. เมืองตรังสมัยการปกครองหัวเมืองฝั่งตะวันตก
     
๘. เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่กันตัง
     
๙. เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง - ปัจจุบัน

ที่มาของคำว่า "ตรัง"

  • ตรัง มาจากคำว่า "ตรังคบุรี" เป็นชื่อเมืองหนึ่งในเมือง 12 นักษัตร ซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช
  • ตรัง มาจากคำว่า "ตรังค" แปลว่า ลูกคลื่นอันเนื่องมาจากสภาพลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังเป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น ปรากฏอยู่ทั่วพื้นที่จังหวัดตรัง
  • ตรัง มาจากคำว่า "ตรังเค" ซึ่งเป็นภาษามาลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือสว่างแล้ว ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่า ชาวมลายูเดินทางมาค้าขายละแวกนี้ จะเปล่งเสียงอุทานว่า "ตรังเค" เมื่อเรือเล่นมาถึงปากแม่น้ำตรัง พอดีกับที่เวลารุ่งเช้า
  • ตรัง หมายถึง พืชตระกูลปาล์มในภาษาเขมร พืชชนิดนี้ขึ้นในพื้นที่จังหวัดตรัง

วิธีการเดินทางสู่จังหวัดตรัง

  
ทางรถยนต์ส่วนตัว


      ตรังอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 828 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ทำได้ 2 ทาง คือ

       1. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ 617 กิโลเมตร และตรงมาตามทางหลวงแผ่นดินสาย 41 สู่อำเภอทุ่งสง ระยะทาง 133 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 403 สู่ห้วยยอดระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 4 อีก 28 กิโลเมตร ถึงตรัง รวมเป็นระยะทาง 828 กิโลเมตร

       2. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มาตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงชุมพร แยกเข้า ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง รวมระยะทาง 1,020 กิโลเมตร

การคมนาคมภายในจังหวัด
        ในตัวเมืองมีรถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) บริการขนส่งในเขตเทศบาล หากเดินทางติดต่อระหว่างอำเภอ  มีบริการรถประจำทาง  และรถสองแถวเล็ก หรือจะเดินทางโดยรถตู้ ซึ่งหาเช่าได้จากบริษัททัวร์ในตัวเมืองตรัง
  
ทางรถไฟ

      สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีตรังทุกวัน วันละ 2 ขบวน
ตารางเดินทางรถไฟ

กรุงเทพฯ - ตรัง
รถด่วน
ออก 17.05 น. ถึง 7.55 น.
รถเร็ว ออก 18.20 น. ถึง 10.20 น.

 

ตรัง - กรุงเทพฯ
รถเร็ว ออก 13.25 น. ถึง 5.15 น.
รถด่วน ออก 17.20 น. ถึง 8.25 น.

อัตราค่าโดยสารรถไฟ

ชั้น 1 ห้องแอร์ส่วนตัว เตียงบน
เตียงล่าง
1,280 บาท
1,480 บาท
ชั้น 2 นอนปรับอากาศ
รถด่วน

รถเร็ว

เตียงบน
เตียงล่าง
เตียงบน
เตียงล่าง

761 บาท
831 บาท
691 บาท
741 บาท 
นอนปรับอากาศ (JR)
รถด่วน


เตียงบน
เตียงล่าง

781 บาท
871 บาท
นอนพัดลม
รถเร็ว

เตียงบน
เตียงล่าง

521 บาท
571 บาท
นั่งแอร์
รถด่วน
 
571 บาท
นั่งพัดลม
รถเร็ว
 
421 บาท
ชั้น 3 รถด่วน
รถเร็ว
  285 บาท 
245 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 0-2220-4444, 1690
http://www.railway.co.th

  
ทางรถทัวร์


       จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดตรังทุกวัน

บจก.ขนส่ง 99  (บขส.) 
โทรศัพท์ (กรุงเทพฯ) 0 2435 5605 (ตรัง) 0 7521 0455 


กรุงเทพฯ - ตรัง
รถมาตรฐาน 1 ก (VIP) [24 ที่นั่ง] 969 บาท
  ออก 19:00 น. ถึง 7:00 น.  
  ออก 19:30 น. ถึง 7:30 น.  
รถปรับอากาศ ม.2 [50 ที่นั่ง] 623 บาท
  ออก 19:30 น. ถึง 7:30 น.  
ตรัง - กรุงเทพฯ
รถมาตรฐาน 1 ก (VIP) [24 ที่นั่ง] 969 บาท
  ออก 17:00 น. ถึง 5:00 น.  
  ออก 17:30 น. ถึง 5:30 น.  
รถปรับอากาศ ม.2 [50 ที่นั่ง] 623 บาท
  ออก 16:30 น. ถึง 4:30 น.  
บจก.ทรัพย์ไพศาล  
โทรศัพท์ (กรุงเทพฯ) 0 2884 9584 (ตรัง) 0 7521 8718

กรุงเทพฯ - ตรัง     
รถปรับอากาศชั้น 1  
  ออก 18:20 น. ถึง 6:00 น.  
  ออก 19:50 น. ถึง 7:30 น.  
รถปรับอากาศ 32 ที่นั่ง  
  ออก 18:50 น. ถึง 6:30 น.  
รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง  
  ออก 19:00 น. ถึง 7:00 น.  
ตรัง - กรุงเทพฯ       
รถปรับอากาศชั้น 1  
  ออก 17:30 น. ถึง 5:30 น.  
รถปรับอากาศ 32 ที่นั่ง  
  ออก 17:30 น. ถึง 5:30 น.  
รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง  
  ออก 17:00 น. ถึง 5:00 น.  
  ออก 17:30 น. ถึง 5:30 น.  
 

 


 

  
ทางเครื่องบิน
กรุงเทพฯ- ตรัง       โทร. 1318 ตรัง - กรุงเทพฯ       โทร. 1318
วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง
ทุกวัน DD7400 07:30 08:50 ทุกวัน DD7401 09:20 10:40
ทุกวัน DD7410 14:20 15:40 ทุกวัน DD7411 16:30 17:50

สายการบิน
รหัส
โทรศัพท์
อัตราค่าโดยสาร
นกแอร์
DD
1318
ขึ้นอยู่กับวันเดินทาง
แอร์เอเชีย
FD
02-5159999
ขึ้นอยู่กับวันเดินทาง
 

 

 

 

10 July 2556 | Count View 822